ขอต้อนรับเข้าสู่บล็อกของน.ส.ศิราณี ฉิมอ่อง วิชา เทคโนโลยีการศึกษา คะ

วันศุกร์ที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2552

คำถามทบทวน

1. การสื่อสารมีความสำคัญกับการเรียนรู้อย่างไร
....... การสื่อสาร เป็นกระบวนการที่มนุษย์ติดต่อถ่ายทอดเรื่องราว แลกเปลี่ยนข้อมูล ข่าวสาร สร้างความสัมพันธ์ระหว่างผู้ส่งสารกับผู้รับสารโดยผ่านสื่อต่างๆ เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้รับอย่างมีวัตถุประสงค์ ดังนั้นการถ่ายทอดความรู้ในการเรียนการสอน ระหว่างผู้สอนและผู้เรียน จึงจำเป็นต้องดำเนินไปตามกระบวนการการสื่อสารด้วยเช่นกันในการจัดการเรียนการสอนเพื่อให้บังเกิดประสิทธิภาพ จำเป็นที่ผู้สอนจะต้องนำกระบวนการสื่อสารมาปรับใช้กับกระบวนการเรียนการสอน เช่น การเพิ่มประสิทธิภาพของสื่อ และการป้องกันสิ่งรบกวน เป็นต้น

2. องค์ประกอบของการสื่อสาร มีอะไรบ้าง ตอบ องค์ประกอบที่สำคัญของการสื่อสารประกอบด้วย
.....1.ผู้ส่งสาร (Source) คือ ผู้ที่นำข่าวสารเรื่องราว ความรู้ ความคิด ตลอดจนเหตุการณ์ต่างๆเพื่อส่งไปยังผู้รับซึ่งอาจเป็นบุคคล กลุ่มบุคคล องค์กร หรือสถาบันก็ได้ เช่น ผู้อ่าน ข่าว ครู สถาบันการศึกษา เป็นต้น
....2.เรื่องราว (Message) ได้แก่ เนื้อหาของสารหรือเรื่องราวที่ส่งออกมา เพื่อให้ผู้รับรับข้อมูลเหล่านั้น เช่น ความรู้ ความคิด ข่าวสาร เหตุการณ์ต่างๆ
เป็นต้น
....3.สื่อ (Channel) หมายถึง ตัวกลางที่ช่วยถ่ายทอดแนวคิด ความรู้ เหตุการณ์ต่างๆที่ผู้ส่งต้องการให้ไปถึงผู้รับ สื่อที่ใช้มากก็คือ ภาษาพุด ภาษาเขียน
....4.ผู้รับสาร (Receiver ) ได้แก่ ผู้ที่รับเนื้อหาของสารหรือเรื่องราวที่ผู้ส่งสารส่งมา ผู้รับนี้อาจเป็นบุคคล กลุ่มชน องค์กร หรือสถาบันก็ได้ เมื่อรับเรื่องราวแล้วผู้รับต้องมี การแปลข่าวสารนั้นให้เข้าใจ เหตุการณ์

3. จงเขียนแผนผังของกระบวนการสื่อสาร
.... ผู้ส่งสาร -> การเข้ารหัส -> สัญญาณ -> การถอดรหัส - ผู้รับสาร

4. ในกระบวนการเรียนการสอนนั้น ทำไมครูจึงควรใช้รูปแบบการสื่อสาร 2 ทางคนเราสามารถรับรู้ทางใดมากที่สุด ในปริมาณเท่าไร
...การรับรู้เป็นกระบวนการที่มนุษย์สนใจต่อสิ่งรอบ ๆ ตัว ในการรับรู้จะต้องอาศัยประสาทสัมผัส ซึ่งได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น และกายสัมผัสโดยในบรรดาประสาทสัมผัสทั้ง 5 นั้น ได้มีผู้ทำการวิจัย พบว่า มนุษย์เราสามารถรับรู้ได้มากที่สุดคือทางตาประมาณ 75% รองลงมาคือทางหูด้วยการได้ยิน 13% นอกนั้นเป็นการรับรู้ทางกาย จมูก และลิ้น (จันทร์ฉาย เตมิยาคาร. 2533 : 49) ซึ่งประสาทสัมผัสเหล่านี้จะรวบรวมข้อมูลแล้วส่งข้อมูลไปยังระบบประสาท สิ่งที่เราประทับใจจะเปลี่ยนเป็นแรงกระตุ้นและเกิดปฏิกริยาต่อเนื่องในสมอง ซึ่งมีผลทำให้มนุษย์เกิดความสนใจในวัตถุหรือเหตุการณ์นั้น ๆ ในการรับรู้ของคนเรานั้นมีหลักของการรับรู้ที่สำคัญ

5. องค์ประกอบที่สำคัญในการเรียนรู้มีอะไรบ้าง
... องค์ประกอบของการเรียนรู้การที่ผู้เรียนจะเกิดการเรียนรู้ในปริมาณมากน้อย หรือมีประสิทธิภาพเพียงใดนั้นขึ้นอยู่กับองค์ประกอบต่าง ๆ หลายประการ (สมศักดิ์ เจียมทะวงษ์. 2519 : 20-26) คือ
1. แรงจูงใจ (Motive) คนเราจะเรียนรู้ได้ดีหากเขามีแรงจูงใจสูงในบทเรียน ที่เขาจะเรียน เช่น เรื่องนั้นแปลกใหม่ น่าตื่นเต้น หรือตรงความต้องการของเขา
2. กระบวนการสอน (Teaching procedure) แม้ว่าผู้เรียนจะมีความตั้งใจที่จะเรียนเพียงใด แต่ถ้ากระบวนการสอนของครูไม่ดีพอ ก็อาจส่งผลให้การเรียนรู้ของผู้เรียนขาดประสิทธิภาพได้
3. กระบวนการเรียน (Studying Procedure) การเรียนรู้ของคนเรานั้น เกิดจากการที่ประสาทสัมผัส (Sense) ได้รับการเร้าจากสิ่งเร้า (Stimulus) บุคคลจะสามารถเรียนรู้และเข้าใจสิ่งเร้านั้นได้ถูกต้องมากน้อยเพียงใดก็ย่อมขึ้นอยู่กับระดับความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้า และการเรียนรู้นั้นจะมีประสิทธิภาพเพียงใดก็ขึ้นอยู่กับว่ากระบวนการเรียนของเขานั้นได้มีโอกาสสัมผัสกับสิ่งเร้าโดยตรงมากน้อยเพียงใดด้วย ดังนั้นการที่ผู้เรียนได้เรียนจากกระบวนการเรียนที่ตนเองได้มีโอกาสสัมผัสมาก ๆ จะทำให้เกิดความเข้าใจและเกิดการรับรู้ที่ถูกต้องกว่าการเรียนจากคำบอกเล่า หรือท่องจำอย่างเดียว

6. อุปสรรคในการสื่อความหมาย มีอะไรบ้าง
....อุปสรรคในการสื่อสารในกระบวนการสื่อสารนั้น ปริมาณของข่าวสารซึ่งออกจากผู้ส่งจะไปยังผู้รับเต็มจำนวนร้อยเปอร์เซนต์หรือไม่ พบว่าโดยข้อเท็จจริงแล้วปริมาณของข่าวสารจากผู้ส่งสารจะถ่ายทอดไปถึงผู้รับไม่ครบถ้วน เนื่องจากความไม่สมบูรณ์ขององค์ประกอบในขั้นตอนต่าง ๆ ดังนี้
1. ความสามารถในการเข้ารหัส ผู้ส่งสารอาจขาดความสามารถในการแปลความต้องการของตนให้เป็นสัญญาณ เช่น บางคนมีความคิดแต่ไม่รู้จะถ่ายทอดความคิดให้ผู้อื่นเข้าใจได้อย่างไร
2. ความบกพร่องของสื่อและช่องทาง เช่น สื่อที่ใช้ในการถ่ายทอดไม่ชัดเจน ไม่เป็นรูปธรรม ตลอดจนความบกพร่องของช่องทางในการรับส่งสัญญาณ เช่น ตาไม่ดี หูไม่ดี เป็นต้น
3. มีสิ่งรบกวนสัญญาณ (Noise) แบ่งออกเป็น 2 ประเภทดังนี้
-3.1 สิ่งรบกวนภายนอก ได้แก่ ความไม่สะดวกทางกายภาพ เช่น ความแออัดของสถานที่ เสียงรบกวนที่ดัง กลิ่นที่ไม่พึงประสงค์
-3.2สิ่งรบกวนภายใน ได้แก่ อุปสรรคที่มาจากภายในตัวของผู้ส่งสารและผู้รับสาร เช่น ความเครียด อารมณ์ที่ขุ่นมัว จิตใจเลื่อนลอย เป็นต้น
4. ความสามารถในการถอดรหัสสัญญาณของผู้รับสาร ได้แก่ ข้อจำกัดในการรับสัญญาณและการแปลความหมาย ซึ่งจำแนกได้ดังนี้
-4.1 อุปสรรคทางด้านภาษา (Verbalism) ได้แก่ ความไม่เข้าใจอย่างลึกซึ้งต่อภาษาที่ ใช้ในการสื่อความหมาย
-4.2 ความขัดแย้งกับประสบการณ์เดิม (Referent Confusion)
- 4.3 ขีดจำกัดของการรับรู้จากประสาทสัมผัส (Limited Perception)
-4.4 สภาพร่างกายที่ไม่พร้อม (Physical Discomfort)
- 4.5 การไม่ยอมรับ(Inpercerption)
-4.6 จินตภาพ (Image) ของข่าวสารไม่ตรงกัน

7. จงยกตัวอย่างแบบจำลองของการสื่อสารมา 1 แบบ
1. แบบจำลองของลาสแวลล์ (lasswell) ลาสแวลล์ เป็นนักรัฐศาสตร์ชาวอเมริกันได้คิดรูปแบบของการสื่อสาร ออกมาว่า การจะอธิบายระบบการสื่อสารนั้น เราควรจะถามตนเองว่า Who คือใคร ใครเป็นคนพูด Say What พูดเรื่องอะไร In Which Channel ใช้ช่องทางใด To Whom กับใคร(ผู้รับสาร) With What Effectได้ผลอย่างไร

8. จงเปรียบเทียบองค์ประกอบของการสื่อสาร กับการเรียนการสอน ตอบ องค์ประกอบที่สำคัญของการสื่อสารประกอบด้วย
1.ผู้ส่งสาร (Source) คือ ผู้ที่นำข่าวสารเรื่องราว ความรู้ ความคิด ตลอดจนเหตุการณ์ต่างๆเพื่อส่งไปยังผู้รับซึ่งอาจเป็นบุคคล กลุ่มบุคคล องค์กร หรือสถาบันก็ได้ เช่น ผู้อ่าน ข่าว ครู สถาบันการศึกษา เป็นต้น
2.เรื่องราว (Message) ได้แก่ เนื้อหาของสารหรือเรื่องราวที่ส่งออกมา เพื่อให้ผู้รับรับข้อมูลเหล่านั้น เช่น ความรู้ ความคิด ข่าวสาร เหตุการณ์ต่างๆ เป็นต้น
3.สื่อ (Channel) หมายถึง ตัวกลางที่ช่วยถ่ายทอดแนวคิด ความรู้ เหตุการณ์ต่างๆที่ผู้ส่งต้องการให้ไปถึงผู้รับ สื่อที่ใช้มากก็คือ ภาษาพุด ภาษาเขียน
4.ผู้รับสาร (Receiver ) ได้แก่ ผู้ที่รับเนื้อหาของสารหรือเรื่องราวที่ผู้ส่งสารส่งมา ผู้รับนี้อาจเป็นบุคคล กลุ่มชน องค์กร หรือสถาบันก็ได้ เมื่อรับเรื่องราวแล้วผู้รับต้องมี การแปลข่าวสารนั้นให้เข้าใจ เหตุการณ์ ส่วน อุปสรรคในการสื่อสารในกระบวนการสื่อสารนั้น ปริมาณของข่าวสารซึ่งออกจากผู้ส่งจะไปยังผู้รับเต็มจำนวนร้อยเปอร์เซนต์หรือไม่ พบว่าโดยข้อเท็จจริงแล้วปริมาณของข่าวสารจากผู้ส่งสารจะถ่ายทอดไปถึงผู้รับไม่ครบถ้วน เนื่องจากความไม่สมบูรณ์ขององค์ประกอบในขั้นตอนต่าง ๆ ดังนี้
-1. ความสามารถในการเข้ารหัส ผู้ส่งสารอาจขาดความสามารถในการแปลความต้องการของตนให้เป็นสัญญาณ เช่น บางคนมีความคิดแต่ไม่รู้จะถ่ายทอดความคิดให้ผู้อื่นเข้าใจได้อย่างไร
-2. ความบกพร่องของสื่อและช่องทาง เช่น สื่อที่ใช้ในการถ่ายทอดไม่ชัดเจน ไม่เป็นรูปธรรม ตลอดจนความบกพร่องของช่องทางในการรับส่งสัญญาณ เช่น ตาไม่ดี หูไม่ดี เป็นต้น
-3. มีสิ่งรบกวนสัญญาณ (Noise) แบ่งออกเป็น 2 ประเภทดังนี้
.......3.1 สิ่งรบกวนภายนอก ได้แก่ ความไม่สะดวกทางกายภาพ เช่น ความแออัดของสถานที่ เสียงรบกวนที่ดัง กลิ่นที่ไม่พึงประสงค์
......3.2สิ่งรบกวนภายใน ได้แก่ อุปสรรคที่มาจากภายในตัวของผู้ส่งสารและผู้รับสาร เช่น ความเครียด อารมณ์ที่ขุ่นมัว จิตใจเลื่อนลอย เป็นต้น
-4. ความสามารถในการถอดรหัสสัญญาณของผู้รับสาร ได้แก่ ข้อจำกัดในการรับสัญญาณและการแปลความหมาย ซึ่งจำแนกได้ดังนี้
......4.1 อุปสรรคทางด้านภาษา (Verbalism) ได้แก่ ความไม่เข้าใจอย่างลึกซึ้งต่อภาษาที่ ใช้ในการสื่อความหมาย
.....4.2 ความขัดแย้งกับประสบการณ์เดิม (Referent Confusion)
......4.3 ขีดจำกัดของการรับรู้จากประสาทสัมผัส (Limited Perception)
......4.4 สภาพร่างกายที่ไม่พร้อม (Physical Discomfort)
......4.5 การไม่ยอมรับ(Inpercerption)
......4.6 จินตภาพ (Image) ของข่าวสารไม่ตรงกัน

9. จงอธิบายถึงความสัมพันธ์ระหว่างการสื่อสาร การรับรู้ และการเรียนรู้
การสื่อสาร เป็นกระบวนการที่มนุษย์ติดต่อถ่ายทอดเรื่องราว แลกเปลี่ยนข้อมูล ข่าวสาร สร้างความสัมพันธ์ระหว่างผู้ส่งสารกับผู้รับสารโดยผ่านสื่อต่างๆ เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้รับอย่างมีวัตถุประสงค์ ดังนั้นการถ่ายทอดความรู้ในการเรียนการสอน ระหว่างผู้สอนและผู้เรียน จึงจำเป็นต้องดำเนินไปตามกระบวนการการสื่อสารด้วยเช่นกันในการจัดการเรียนการสอนเพื่อให้บังเกิดประสิทธิภาพ จำเป็นที่ผู้สอนจะต้องนำกระบวนการสื่อสารมาปรับใช้กับกระบวนการเรียนการสอน เช่น การเพิ่มประสิทธิภาพของสื่อ และการป้องกันสิ่งรบกวน เป็นต้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น